เมื่อพูดถึงการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ หลายคนอาจจะสงสัยว่าต้องทำยังไง เอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง กลายเป็นปัญหาที่ยุ่งยากไม่น้อยเลยครับ ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นทางไหนดีก่อน หากลืมต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ก็มีหวังโดนเสียค่าปรับอย่างแน่นอน แล้วคนไหนที่ต้องการทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมกันก่อนนะครับ เพราะเป็นสิ่งสำคัญไม่ควรมองข้าม
ต่อพ.ร.บ.รถยนต์ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
หลายคนมักจะสงสัยว่าการต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ใช้อะไรบ้าง ง่ายนิดเดียวเลยครับ!! สำหรับต่อ พ.ร.บ.รถยนต์เราจะทำควบคู่ไปพร้อมกับการต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งพ.ร.บ.รถยนต์จะไม่สามารถซื้อย้อนหลังได้นะครับ แต่สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน แล้วเอกสารที่จะต้องเตรียมเพื่อต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีอะไรกันบ้างนะ เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ !!
สำเนาบัตรประชาชน
สำเนาทะเบียนบ้าน
สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มจริง
เพียงเอกสารไม่กี่อย่างเท่านี้ เราก็สามารถนำไปต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ได้ทันทีครับ สามารถไปต่อได้ที่กรมการขนส่งแต่ละจังหวัด หรือไม่สะดวกเดินทางก็ติดต่อได้กับบริษัทประกันภัย จะช่วยให้ขั้นตอนเป็นไปอย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น ส่วนค่าใช้จ่ายการทำ พรบรถยนต์ ราคา แต่ละบริษัทก็จะมีเรทราคาต่างกัน นอกนั้นความคุ้มครองก็จะเหมือนกันตามกฎหมายทุกบริษัท
มาทบทวนความเข้าใจ พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร
เพื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น คำว่า พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ ซึ่งความหมายของ พ.ร.บ.รถยนต์ คือการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกกันว่า Compulsory Third Party Insurance เป็นกฎหมายภาคบังคับให้รถยนต์ทุกคันทำ โดยจะเน้นความคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถยนต์กรณีบาดเจ็บ และเสียชีวิต การทำพ.ร.บ.รถยนต์ สามารถจดทะเบียนได้กับกรมการขนส่งทางบก เพื่อมีไว้เป็นหลักประกันชีวิตให้กับคนในรถยนต์นั่นเองล่ะครับ
พ.ร.บ.รถยนต์ มีความสำคัญอย่างไรบ้าง
สาเหตุทุกๆปีที่เราต้องต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผู้ใช้รถใช้ถนนจะได้รับสิทธิความคุ้มครองเงินค่ารักษาพยาบาลทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ช่วยเเบ่งเบาภาระเรื่องค่าใช้จ่าย ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่กระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน แต่จะดูแลเฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้นนะครับ หากต้องการให้คุ้มครองรถยนต์ของเราด้วย ก็จะต้องทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเอาเองครับ
เรื่องของวงเงินคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิตเบื้องต้น เราจะได้รับความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องรอผลพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูกครับ เพราะประกันภัยภาคบังคับสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ ซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ขออธิบายแบบเข้าใจง่ายๆ ต่อไปนี้นะ
ความคุ้มครองทันที โดยไม่ต้องรอว่าใครผิดใครถูก ค่ารักษาพยาบาลรวมแล้วไม่เกิน 65,000 บาท
เงินค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
กรณีเกิดเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 35,000 บาท/คน
ความคุ้มครองเมื่อเป็นฝ่ายถูก เราจะได้เงินค่ารักษาพยาบาลเพิ่มอีก ทั้งหมดไม่เกิน 304,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร ไม่เกิน 300,000 บาท/คน
เมื่อสูญเสียอวัยวะ ตามแต่ละกรณี จำนวน 200,000-300,000 บาท/คน
ค่ารักษาพยาบาล จากการบาดเจ็บ ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
ชดเชยรายวัน 200 บาท รวมไม่เกิน 20 วัน กรณีเข้าพักรักษาพยาบาล (ผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท/คน
ตัวอย่างความคุ้มครอง พ.ร.บ.รถยนต์
กรณีที่ผู้ขับรถยนต์เกิดอุบัติเหตุรถชนจนบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก โดยต้องยื่นเบิกภายในระยะเวลา 180 วัน แต่หากเกิน 180 วัน ก็ต้องมีหลักฐานในการจดบันทึกประจำวันของตำรวจ ระบุเหตุการณ์ ช่วงเวลาชัดเจน หรือมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลว่ารักษาอาการบาดเจ็บอันเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ก็สามารถเเจ้งกับสำนักงาน คปภ หรือบริษัทประกัน เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนได้
แต่อย่าลืมกันเชียวล่ะ !! ว่าพ.ร.บ.รถยนต์ จะดูแลเฉพาะผู้ที่บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเท่านั้น ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมอุปรกรณ์อื่นๆ ไม่คุ้มครองนะครับ
ถ้าไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ โดนค่าปรับเท่าไหร่นะ ?
หากเราไม่ทำ พ.ร.บ.รถยนต์ ก็ถือว่ามีความผิดตามกฎหมายอยู่แล้วครับ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท แต่ถ้าแสดงเครื่องหมาย พ.ร.บ. ไม่ชัดเจนล่ะก็มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือรถยนต์คันนั้นลืมสนิทว่าต้องต่อพรบรถยนต์ ราคา และโชคร้ายตำรวจเข้ามาเห็น จะเสียค่าปรับจำนวน 400-1,000 บาท